Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของรูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยโดยใช้โมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์ ตัวอย่างวิจัย คือ 1) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่บรรเลงเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี 4 ชนิด ประกอบด้วย ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ และฆ้องวงเล็ก จำนวน 84 คน และ 2) ผู้ประเมินทักษะดนตรีไทยที่มีความเชี่ยวชาญและผ่านการอบรม จำนวน 6 ท่าน เครื่องมือวิจัย คือ รูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทย ประกอบด้วยเกณฑ์ 8 ด้าน 12 ข้อรายการประเมิน โดยแต่ละข้อรายการประเมินจะประกอบไปด้วยระดับคุณภาพ 5 ระดับ วิเคราะห์คุณสมบัติทางจิตมิติโดยใช้โมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์ผ่านฟาเซตที่เกี่ยวข้อง 4 ฟาเซต ประกอบด้วย ฟาเซตนักเรียน ฟาเซตผู้ประเมิน ฟาเซตเครื่องดนตรี และฟาเซตข้อรายการประเมิน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลความสอดคล้องกลมกลืนกับโมเดลของฟาเซตทั้ง 4 ฟาเซต ดัชนีคุณภาพฟาเซตผู้ประเมินและข้อรายการประเมิน ค่า point-measure correlation ของฟาเซตข้อรายการประเมิน และดัชนีประสิทธิผลระดับคุณภาพ แสดงถึงความตรงเชิงโครงสร้างของรูบริก และ 2) ผล Chi-square ฟาเซตนักเรียนและผู้ประเมิน และดัชนีคุณภาพฟาเซตนักเรียน แสดงถึงความเที่ยงของรูบริก
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.50.3.3
First Page
1
Last Page
14
Recommended Citation
เทพสถิตย์, ภูรินท์ and ตังธนกานนท์, กมลวรรณ
(2022)
"การตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของรูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทย: การประยุกต์ใช้โมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์,"
Journal of Education Studies: Vol. 50:
Iss.
3, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.50.3.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol50/iss3/4