Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ 1) องค์ประกอบวัฒนธรรมดิจิทัล และ 2) ระดับวัฒนธรรมดิจิทัลของสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ จำนวน 340 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.60- 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สถิติอ้างอิงโดยการทดสอบค่า Bartlett’s Test of Sphericity และค่าดัชนี KMO และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ผลการวิจัย พบว่า1) วัฒนธรรมดิจิทัลของสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ มี 6 องค์ประกอบหลัก 17 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ (1) กรอบความคิดดิจิทัลมี 3 องค์ประกอบย่อย (2) การพร้อมรับความเสี่ยงทางดิจิทัล มี 3 องค์ประกอบย่อย (3) การขับเคลื่อนด้วยข้อมูล มี 2 องค์ประกอบย่อย (4) ความคล่องตัวทางดิจิทัล มี 3 องค์ประกอบย่อย (5) ค่านิยมการทำงานแบบร่วมมือกัน มี 3 องค์ประกอบย่อยและ (6) การมุ่งเน้นผู้รับบริการเป็นสำคัญ มี 3 องค์ประกอบย่อย 2) โมเดลการวัดองค์ประกอบวัฒนธรรมดิจิทัลของสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งมีค่า X2 = 82.129, df = 63, P-Value = 0.0532, RMSEA = 0.030, SRMR = 0.021, CFI = 0.996, TLI = 0.991
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.50.3.2
First Page
1
Last Page
14
Recommended Citation
เต้นปักษี, นิรุต and ถวิลการ, ดาวรุวรรณ
(2022)
"การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันวัฒนธรรมดิจิทัลของสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์,"
Journal of Education Studies: Vol. 50:
Iss.
3, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.50.3.2
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol50/iss3/3