Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กอนุบาลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอนุบาล อายุ 5-6 ปี จำนวน 20 คน ใช้เวลาในการทดลองครั้งละ 60 นาที ติดต่อกันสัปดาห์ละ 4 ครั้ง รวม 6 สัปดาห์ ขั้นตอนการจัดประสบการณ์มี 3 ระยะ ได้แก่ 1) เตรียมการก่อนการจัดประสบการณ์ 2) ดำเนินการจัดประสบการณ์ ประกอบด้วย 5 ขั้นย่อย ได้แก่ เตรียมความพร้อม นำเสนอมโนทัศน์ จัดระเบียบข้อมูล สรุปมโนทัศน์ และสร้างสรรค์ผังกราฟิกรายบุคคล และ 3) ประเมินหลังการจัดประสบการณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผล และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก มีค่าเท่ากับ 0.8511 แสดงว่า เด็กอนุบาลมีการพัฒนาความสามารถในการคิดรวบยอดเพิ่มขึ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 85.11 2) เด็กอนุบาลมีความสามารถในการคิดรวบยอด หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกสามารถนำไปใช้ในการเสริมสร้างความสามารถในการคิดรวบยอดสำหรับเด็กอนุบาลได้
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.50.3.1
First Page
1
Last Page
13
Recommended Citation
สุจริต, ศศิญา; พฤทธิกุล, ศิรประภา; and ซ้อนบุญ, เชวง
(2022)
"ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดรวบยอดสำหรับเด็กอนุบาล,"
Journal of Education Studies: Vol. 50:
Iss.
3, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.50.3.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol50/iss3/2