Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา 2) วิเคราะห์สภาพการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 342 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครูที่ปรึกษา ครูแนะแนว และครูฝ่ายปกครอง รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ลำดับความต้องการจำเป็นด้วยเทคนิค PNImodifiedผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดของการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 3 กรอบแนวคิด ได้แก่ 1) กรอบแนวคิดการบริหาร 2) กรอบแนวคิดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3) กรอบแนวคิดคุณภาพของนักเรียน 2) การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษามีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การประเมินผล (PNImodified = 0.187) รองลงมาคือ การวางแผน (PNImodified = 0.178) และการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ (PNImodified = 0.170) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามกระบวนการของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การส่งต่อ (PNImodified = 0.238) รองลงมาคือ การป้องกัน (PNImodified = 0.177) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลและการพัฒนาและส่งเสริมนักเรียน (PNImodified= 0.173 เท่ากัน) และการคัดกรองนักเรียน (PNImodified = 0.169) ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามคุณภาพนักเรียน พบว่า มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านจิตใจ (PNImodified = 0.193) รองลงมาคือ ด้านสติปัญญาและทักษะ (PNImodified = 0.188) ด้านคุณธรรม จริยธรรม (PNImodified = 0.182) และด้านร่างกาย (PNImodified = 0.178) ตามลำดับ
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.49.4.8
First Page
1
Last Page
13
Recommended Citation
ป้อมเกษตร์, ปิยะพร; ชูประวัติ, เพ็ญวรา; and ศิริบรรณพิทักษ์, พฤทธิ์
(2021)
"การวิเคราะห์การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา,"
Journal of Education Studies: Vol. 49:
Iss.
4, Article 9.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.49.4.8
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol49/iss4/9