•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของกระบวนการสร้างความผูกพันต่อองค์กร 2) เสนอแนวทางในการปรับปรุง พัฒนา และสร้างความผูกพันต่อองค์กร ตัวอย่างในการวิจัย คือ บุคลากรของสำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 117 คน และบุคลากรที่รับผิดชอบการพัฒนาบุคลากร จำนวน 18 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสำคัญต่อประสิทธิภาพของกระบวนการสร้างความผูกพันต่อองค์กร โดยภาพรวมประเด็นที่สำคัญมากที่สุด คือ บุคลากรมีความภาคภูมิใจที่ได้ทำงานในองค์กรนี้ และผลการดำเนินการที่โดดเด่นมากที่สุด คือ บุคลากรเข้าใจถึงบทบาทและความรับผิดชอบของตนเองอย่างชัดเจน ผลวิเคราะห์การเปรียบเทียบความสำคัญกับผลการดำเนินการ พบว่า ค่า gap score สูงสุด คือ สภาพการทำงานที่ก่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการดำเนินชีวิตและการทำงาน 2) แนวทางในการสร้างความผูกพันของบุคลากร ได้แก่ การจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการถ่ายทอดงานจากพี่สู่น้อง การดูแลความก้าวหน้าในสายอาชีพ และการสร้างความสุขในที่ทำงาน องค์กรควรส่งเสริมให้บุคลากรได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ เพื่อเพิ่มทักษะใหม่ ๆ โดยผ่านทางออนไลน์ องค์กรควรมีการมอบรางวัลและยกย่องชมเชยบุคลากรที่มีผลงานดีเด่น และองค์กรควรเพิ่มช่องทางการสื่อสารในองค์กรให้หลากหลายมากขึ้น

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.49.4.6

First Page

1

Last Page

13

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.