•  
  •  
 

Abstract

งานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการถ่ายโอนแนวคิด เรื่อง สารละลาย และค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้แบบอิงบริบทที่สามารถพัฒนาความสามารถในการถ่ายโอนแนวคิดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน ของโรงเรียนสตรีแห่งหนึ่งในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบวัดความสามารถในการถ่ายโอนแนวคิด แบบบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกการนิเทศ และแบบสัมภาษณ์นักเรียนแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติ เชิงบรรยาย ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการถ่ายโอนแนวคิดในแต่ละองค์ประกอบแตกต่างกัน โดยองค์ประกอบที่ 1 ความเข้าใจในแนวคิด และองค์ประกอบที่ 3 การตัดสินใจนำแนวคิดไปใช้อย่างเป็นเหตุเป็นผลอยู่ในระดับดี แต่องค์ประกอบที่ 2 การเชื่อมโยงแนวคิดเข้ากับสถานการณ์ใหม่ นักเรียนมีการพัฒนาอยู่ในระดับพอใช้ สำหรับแนวปฏิบัติที่ดีที่ค้นพบ คือ 1) ควรสอดแทรกแนวคิดคลาดเคลื่อนในขั้นกำหนดสถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนเกิดความสงสัยและนำไปสู่การลงมือสำรวจตรวจสอบ 2) ควรใช้สื่อการทดลองออนไลน์ร่วมกับการถามคำถามซักไซ้ความคิด เพื่อส่งเสริมความเข้าใจแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และการเชื่อมโยงความรู้ไปยังสถานการณ์อื่น ๆ 3) เรียงลำดับเนื้อหาโดยเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปสู่สิ่งที่เป็นนามธรรม 4) ใช้สถานการณ์ที่ใกล้ตัวนักเรียนร่วมกับการเล่าเรื่องประกอบสถานการณ์ เพื่อกระตุ้นความสามารถในการถ่ายโอนแนวคิด

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.49.4.18

First Page

1

Last Page

13

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.