Abstract
การคิดอย่างมีวิจารณญาณในบทความนี้เป็นการคิดไตร่ตรอง การให้เหตุผล การวิเคราะห์และประเมินข้อมูลเพื่อตัดสินใจดำเนินการในสถานการณ์หรือแก้ปัญหาที่พบเจอ การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนในวิชาคณิตศาสตร์สามารถทำได้ในหลายแนวทาง สำหรับบทความนี้จะนำเสนอแนวทางการออกแบบสถานการณ์หรือปัญหาที่เหมาะสำหรับการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณในวิชาคณิตศาสตร์ใน 4 ลักษณะ ดังนี้ 1) ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีหลายคำตอบหรือหลายวิธีการ 2) ปัญหาเรื่องราวคณิตศาสตร์ที่เป็นสถานการณ์เสมือนจริงที่เน้นการเชื่อมโยงประสบการณ์ในชีวิตจริงมาใช้ในการแก้ปัญหา 3) ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์ และ 4) สถานการณ์หรือปัญหาในชีวิตจริงที่เน้นการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ ความคิดและประสบการณ์ที่มีอยู่มาใช้ในการอธิบายสถานการณ์หรือหาคำตอบของปัญหานั้น โดยสถานการณ์หรือปัญหาที่ออกแบบจะมุ่งพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณตามความสามารถย่อย ทั้งนี้ความรู้คณิตศาสตร์ที่สามารถนำมาใช้อธิบายสถานการณ์หรือแก้ปัญหาที่ออกแบบไว้ไม่จำเป็นต้องเป็นความรู้ในระดับสูงที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.49.4.14
First Page
1
Last Page
11
Recommended Citation
ทำสวน, จงกล and เณรเทียน, ศันสนีย์
(2021)
"แนวทางการออกแบบปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริงกับการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ,"
Journal of Education Studies: Vol. 49:
Iss.
4, Article 15.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.49.4.14
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol49/iss4/15