•  
  •  
 

Abstract

การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เป็นหน้าที่หลักของครูในสถานศึกษา ขั้นตอนการปฏิบัติงานดังกล่าวเริ่มจากการที่ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เมื่อเสร็จแล้วจึงนำส่งผู้บังคับบัญชาซึ่งอาจเป็นหัวหน้ากลุ่มสาระ หรือผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณาให้ความเห็นชอบ จากนั้นจึงนำไปใช้จัดการเรียนการสอน ซึ่งครูจะได้ข้อมูลย้อนกลับจากการสอนเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนที่อาจนำไปสู่การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ อย่างไรก็ตามการดำเนินการดังกล่าวยังขาดความชัดเจนในประเด็นของวิธีการและเครื่องมือในการตรวจสอบที่จะนำไปสู่การพัฒนางานในส่วนนี้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอการประยุกต์ใช้การประเมินตนเองและการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งนอกจากจะสร้างความเข้าใจให้แก่ครูภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการวางแผน และการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่ถูกต้องชัดเจนแล้ว ยังส่งเสริมให้ครูใช้การประเมินตนเองและการสะท้อนคิดในการตรวจสอบ และทบทวนการทำงานของตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการปฏิบัติงานในวิชาชีพต่อไป

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.49.3.6

First Page

1

Last Page

12

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.