Abstract
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อการจัดการศึกษาของ สตรีไทย 2) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดและการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาสตรีไทยของ “บางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้” และ 3) เพื่อประยุกต์แนวคิดและรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาสตรีไทยของ “บางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้” วิธีการศึกษาใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศึกษาวิเคราะห์พระราชนิพนธ์ พระนิพนธ์ประเภทต่าง ๆ ในฐานะสื่อสะท้อนแนวคิดและการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาสตรีไทยของ “บางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้” ผลการศึกษา พบว่า การศึกษาของสตรีไทยในช่วงปี พ.ศ. 2410-2474 แบ่งออกเป็น 2 แบบหลัก คือ การศึกษาแบบโบราณ และการศึกษาแบบใหม่ โดยปัจจัยสําคัญที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาของสตรีไทย ได้แก่ บริบททางสังคมและวัฒนธรรมของ ประเทศในขณะนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลจากบริบททางประวัติศาสตร์ในช่วงการแพร่ขยายลัทธิการล่าอาณานิคมของ มหาอํานาจตะวันตก นอกจากนี้ แนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาสตรีไทยของบางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้เป็นการบูรณาการพหุวิทยาการต่าง ๆ ทั้งจารีตประเพณีไทยแบบโบราณ และความรู้ใหม่แบบตะวันตก โดยประยุกต์ให้ เหมาะสมกับบริบทสังคมและวัฒนธรรมไทยได้เป็นอย่างดี อีกทั้งการจัดการศึกษาของบางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้ยังสามารถ พัฒนาสตรีไทยให้มีความรู้ความสามารถทัดเทียมอารยประเทศ และธํารงเอกลักษณ์ที่ดีงามของสตรีไทยได้อย่างครบถ้วน สรุปได้ว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือที่สําคัญในการพัฒนาสตรีไทยให้มีความเท่าเทียม และความเสมอภาค นอกจากนี้ ยังสามารถนําแนวคิดดังกล่าวมาใช้ในการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาสตรีไทยในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.49.3.18
First Page
1
Last Page
14
Recommended Citation
วงษ์กาญจนกุล, พรสวรรค์ and สัจกุล, กรรณิการ์
(2021)
"“บางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้” : แนวคิดและการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาสตรีไทย,"
Journal of Education Studies: Vol. 49:
Iss.
3, Article 19.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.49.3.18
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol49/iss3/19