Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้วิถีชีวิตพอเพียงสำหรับผู้นำชุมชนในสังคมเกษตรอุตสาหกรรม โดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) การสังเคราะห์เอกสารเพื่อร่างตัวบ่งชี้วิถีชีวิตพอเพียงสำหรับผู้นำชุมชนเพื่อนำผลการสังเคราะห์สรุปเป็นประเด็นเพื่อการสัมภาษณ์เชิงลึก 2) การพัฒนาตัวบ่งชี้ในการพัฒนาวิถีชีวิตพอเพียงสำหรับผู้นำชุมชนในสังคมเกษตรอุตสาหกรรม โดยใช้แบบสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับและเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตัวตามวิถีพอเพียง 3) การตรวจสอบตัวบ่งชี้วิถีชีวิตพอเพียงสำหรับผู้นำชุมชน โดยใช้เครื่องมือประเภทแบบสัมภาษณ์ เสนอผู้ทรงคุณวุฒิกลุ่มผู้เกี่ยวข้องในการเสริมสร้างวิถีชีวิตพอเพียง และการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน 5 คน ผลการวิจัย พบว่า การสังเคราะห์เอกสารเพื่อร่างตัวบ่งชี้วิถีชีวิตพอเพียงสำหรับผู้นำชุมชนเป็นตัวบ่งชี้วิถีชีวิตพอเพียงสำหรับผู้นำชุมชนในสังคมเกษตรอุตสาหกรรมและการตรวจสอบตัวบ่งชี้วิถีชีวิตพอเพียงสำหรับผู้นำชุมชน แสดงให้เห็นว่ามีจำนวน 8 ด้าน 21 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การปฏิบัติตนในทางสายกลาง 2) การดำรงชีวิตอย่างพอประมาณ 3) การมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต 4) การพึ่งตนเองได้ 5) การดำรงชีวิตตามแนวทางของสังคมไทย 6) การรู้จักใช้ทรัพยากรประกอบด้วย 7) การมีความสามารถในการใช้ความรู้อย่างมีเหตุผล 8) การปรับตัวอย่างมีความสุข
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.49.2.4
First Page
1
Last Page
12
Recommended Citation
กิจเดช, ศรวณีย์; สุปัญโญ, วีรฉัตร์; and ธาระวานิช, ณัฏฐลักษณ์
(2021)
"การพัฒนาตัวบ่งชี้วิถีชีวิตพอเพียงสำหรับผู้นำชุมชนในสังคมเกษตรอุตสาหกรรม,"
Journal of Education Studies: Vol. 49:
Iss.
2, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.49.2.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol49/iss2/4