Abstract
วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติการป้องกันการเป็นเหา การรักษาความสะอาดของฟันและมือ ก่อนและหลังการทดลอง และ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ การป้องกันการเป็นเหา การรักษาความสะอาดของฟันและมือ หลังการทดลองระหว่างนักเรียน 2 กลุ่ม ตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 40 คน โรงเรียนธารทิพย์ จังหวัดเชียงราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมสุขภาพในโรงเรียนที่มีต่อการป้องกันการเป็นเหา การรักษาความสะอาดของฟันและมือ จำนวน 20 และกลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แบบวัดความรู้ แบบวัดเจตคติ และแบบวัดการปฏิบัติการป้องกันการเป็นเหา การรักษาความสะอาดของฟัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ เรื่องการป้องกันการเป็นเหา การรักษาความสะอาดของฟันและมือ หลังทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ เรื่องการป้องกันการเป็นเหา การรักษาความสะอาดของฟันและมือ หลังทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.49.1.7
First Page
1
Last Page
14
Recommended Citation
สุขสอาด, สุชัญญา and สรายุทธพิทักษ์, จินตนา
(2021)
"ผลการใช้โปรแกรมสุขภาพในโรงเรียนที่มีต่อการป้องกันการเป็นเหา การรักษาความสะอาดของฟันและมือ ของนักเรียนชาวเขาประถมศึกษาตอนปลาย,"
Journal of Education Studies: Vol. 49:
Iss.
1, Article 7.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.49.1.7
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol49/iss1/7