•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้าง-ปฏิสัมพันธ์ในการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารของชุมชน และวิเคราะห์การเรียนรู้ของชุมชนภายใต้โครงสร้างและปฏิสัมพันธ์ในการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ใช้วิธีการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสำรวจข้อมูลจากผู้ผลิตและผู้บริโภคในชุมชนที่มีการปฏิบัติดี (best practice) จำนวน 6 ชุมชน จาก 6 ภูมิภาค วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า โครงสร้างและปฏิสัมพันธ์ในการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารของชุมชน แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ 1) แบบกลุ่มการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารในชุมชน 2) แบบชุมชนพึ่งตนเอง 3) แบบเครือข่ายชุมชน ซึ่งในแต่ละแบบมีช่วงของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาแบ่งได้เป็น 3 ช่วง ภายใต้โครงสร้างและปฏิสัมพันธ์ฯ แบ่งการเรียนรู้ของชุมชนได้เป็น 3 แบบ คือ 1) แบบกลุ่มการสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหารในชุมชน 2) แบบชุมชนเป็นฐาน 3) แบบเครือข่ายชุมชน ซึ่งแบ่งการเรียนรู้ได้เป็น 3 ระยะ คือ (1) การเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิต วิถีชุมชนและการพึ่งตนเองฯ (2) การเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนชุมชนสู่การสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหาร และ (3) การเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนเพื่อสร้างเสริมความมั่นคงทางอาหาร

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.49.1.3

First Page

1

Last Page

18

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.