•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำเสนอกรอบแนวคิดทฤษฎีทางสังคมในศาสตร์พื้นฐานการศึกษาร่วมสมัย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการวิจัยเอกสาร ผลการวิจัย พบว่า กรอบแนวคิดทฤษฎีทางสังคมสามารถจำแนกออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กรอบแนวคิดทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ และกรอบแนวคิดทฤษฎีขัดแย้ง ซึ่งรวมถึงแนวคิดที่เกี่ยวข้อง อาทิ ทฤษฎีแนวการตีความ ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์สัญลักษณ์ และทฤษฎีแนวปรากฏการณ์นิยม ข้อถกเถียงสำคัญจากการวิจัย คือ นักวิชาการพื้นฐานการศึกษาจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาอิทธิพลของกรอบแนวคิดทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ที่มีต่อศาสตร์พื้นฐานการศึกษา และการเปลี่ยนผ่านของกรอบแนวคิดทฤษฎีทางสังคมในศาสตร์พื้นฐานการศึกษาร่วมสมัยที่ให้ความสำคัญกับทฤษฎีมาร์กซิสต์ใหม่ทางการศึกษา หรือทฤษฎีเชิงวิพากษ์ทางการศึกษาอันมีฐานคิดมาจากทฤษฎีขัดแย้ง การเปลี่ยนผ่านดังกล่าวนี้ส่งผลให้วิธีวิทยาในศาสตร์พื้นฐานการศึกษาร่วมสมัยเกิดการเปลี่ยนแปลงบนฐานทฤษฎีและปฏิบัติการซึ่งดำรงอยู่ภายใต้วาทกรรมโลกยุคศตวรรษที่ 21 ศาสตร์พื้นฐานการศึกษาจึงเป็นฐานคิดในการตั้งประเด็นปัญหาใหม่ ๆ ทางการศึกษาให้แก่นักวิชาการ ครูอาจารย์ และนักปฏิบัติการทางการศึกษาให้ก้าวพ้นไปจากการยอมรับโดยปริยายได้ในที่สุด

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.49.1.20

First Page

1

Last Page

19

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.