Abstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาจากโครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาหลักสูตรพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในพื้นที่ชายขอบ โดยบทความนี้นำเสนอผลของโรงเรียนเทศบาลวัดดอนแก้ว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โครงการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา สถานภาพของหลักสูตรและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้านพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในพื้นที่ชายขอบ 2) พัฒนาหลักสูตรพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในพื้นที่ชายขอบ และ 3) จัดทำคู่มือและสื่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้านพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในพื้นที่ชายขอบ โครงการวิจัยประยุกต์ใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และใช้เทคนิคแบบเจาะจงเพื่อเลือกพื้นที่เป้าหมาย คือ โรงเรียนอนุบาลในสังกัดเทศบาลจำนวน 3 แห่งในพื้นที่ชายขอบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกต และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า หลักสูตรของโรงเรียนก่อนหน้านี้ไม่ได้เชื่อมโยงกับความแตกต่างทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมในพื้นที่ จึงได้พัฒนาหลักสูตรพหุวัฒนธรรมศึกษาจำนวนสองหน่วย พร้อมคู่มือที่เป็นกรอบแนวคิดหลักสูตร และแผนการสอนและสื่อหนึ่งชุด ที่มุ่งเน้นความแตกต่างทางวัฒนธรรมและพหุวัฒนธรรมศึกษามากขึ้น รวมถึงเชื่อมโยงกับนโยบายของโรงเรียน ซึ่งสามารถเทียบเคียงได้กับระดับที่ 3 (การเปลี่ยนหลักสูตร) ตามแนวคิดการบูรณาการเนื้อหาพหุวัฒนธรรมศึกษา 4 ระดับ ของ James Banks
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.49.1.15
First Page
1
Last Page
19
Recommended Citation
นาสี, พิสิษฏ์
(2021)
"การพัฒนาหลักสูตรพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในพื้นที่ชายขอบ,"
Journal of Education Studies: Vol. 49:
Iss.
1, Article 15.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.49.1.15
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol49/iss1/15