Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ กำหนดรูปแบบการจัดการห้องสมุดดิจิทัลที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ตัวอย่าง คือ ห้องสมุดดิจิทัล จำนวน 290 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้าครูบรรณารักษ์ รวมทั้งสิ้น 580 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบด้วยวิธี principal-component analysis (PC) และวิธีหมุนแกนออโธกอนอลแบบวาริแมกซ์ (varimax orthogonal) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สภาพการจัดการห้องสมุดดิจิทัลฯ ในภาพรวมมีประสิทธิผลในระดับมาก รูปแบบการจัดการห้องสมุดดิจิทัลฯ เป็นชุดของเนื้อหา วัตถุประสงค์ กระบวนการ วิธีการ และการประเมินผล โดยมีองค์ประกอบด้านการจัดการ ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการปฏิบัติ ด้านการกำกับ และตรวจประเมิน รูปแบบการจัดการห้องสมุดดิจิทัลฯ ที่สร้างขึ้น ในภาพรวมมีความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ขณะที่ข้อมูลมีการกระจายตัวน้อย
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.49.1.11
First Page
1
Last Page
10
Recommended Citation
เสียงล้ำ, อุไรวรรณ and อุทัยรัตน์, วีระวัฒน์
(2021)
"รูปแบบการจัดการห้องสมุดดิจิทัลที่มีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ,"
Journal of Education Studies: Vol. 49:
Iss.
1, Article 11.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.49.1.11
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol49/iss1/11