•  
  •  
 

Abstract

วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ 1) พัฒนาตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนกะเหรี่ยงในพื้นที่สูง 2) วิเคราะห์กระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนกะเหรี่ยงในพื้นที่สูง และ 3) เสนอแนะแนวทางในการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนกะเหรี่ยงในพื้นที่สูง ผลการศึกษา พบว่า ตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชนกะเหรี่ยงในพื้นที่สูงมี 4 ตัว ได้แก่ การรักษาความเชื่อและค่านิยมของคนกะเหรี่ยงที่มีต่อธรรมชาติ การรักษาวิถีการปลูกข้าวเชิงประเพณี การรักษาภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการรักษาจริยธรรมของชุมชน การพัฒนาให้ชุมชนกะเหรี่ยงในพื้นที่สูงมีความยั่งยืนได้ จำเป็นต้องฟื้นฟูภูมิปัญญาของชุมชน ประกอบด้วยคุณธรรม 7 ประการ คือ การไม่ครอบครอง การสำนึกในบุญคุณ ความพอเพียง ความเป็นธรรม การช่วยเหลือกัน การเคารพผู้อาวุโสและคนดี และการมีส่วนร่วมของชุมชน และความรู้ 12 เรื่องที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในพื้นที่สูง รวมทั้งการประยุกต์ความรู้ใหม่ด้านการดูแลสุขภาพอนามัยและการบริหารจัดการชุมชน ส่วนวิธีจัดการเรียนรู้นั้นต้องผสมผสานการเรียนรู้เชิงประเพณีของชุมชน 4 รูปแบบไว้ควบคู่ไปกับการศึกษาสมัยใหม่ ซึ่งใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง มีการประสานบทบาทของผู้นำทางการและผู้นำตามธรรมชาติให้สอดคล้องกันในการขับเคลื่อนการพัฒนาและรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชน

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.49.1.10

First Page

1

Last Page

18

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.