Abstract
สินค้าโอทอปเกิดจากการผสมผสานภูมิปัญญาจากวิถีชุมชนเข้ากับทรัพยากรที่มีในแต่ละท้องถิ่นเกิดการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจที่กล่าวได้ว่า เป็นรูปแบบหนึ่งในการใส่ความหมายเชิงสัญญะสู่สินค้างานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการให้ความหมายเชิงสัญญะในสินค้าโอทอปผ่านแนวคิดฮาบิทัส2) วิเคราะห์ปัจจัยและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง และ 3) นำเสนอรูปแบบพื้นที่เรียนรู้เพื่อพัฒนาการให้ความหมายเชิงสัญญะในผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพจากผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีแนวคิดในการให้ความหมายเชิงสัญญะในสินค้าโอทอปตรงกัน โดยการให้ความสำคัญสูงสุดด้านการสืบสานเอกลักษณ์วัฒนธรรม และการช่วยเหลือชุมชนผ่านการสนับสนุนสินค้า 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเกิดสัญญะในผลิตภัณฑ์โอทอปเกิดจากทุนทางเศรษฐกิจทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม และทุนสัญลักษณ์ เงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แรงบันดาลใจ และความรักในอาชีพ 3) รูปแบบพื้นที่เรียนรู้เพื่อพัฒนาการให้ความหมายเชิงสัญญะในผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมมีจุดเริ่มต้นมาจาก “ฮาบิทัส”(Habitus) และปัจจัยจากทุน 4 ด้าน ที่สามารถแบ่งผู้ผลิตได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มโอทอปพัฒนาขั้นตน้ กล่มุ โอทอปกำ ลังพัฒนา และกล่มุ โอทอปพัฒนาส่สู ากล โดยทั้ง 3 กล่มุ มีการแสดงออกถึงรหัสของสัญญะ (symbolic code) ผ่านการสืบทอดฮาบิทัสสู่รุ่นต่อไป
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.48.3.10
First Page
164
Last Page
183
Recommended Citation
วงศาสุลักษณ์, ปณิธาร and หงษ์วิทยากร, อุบลวรรณ
(2020)
"การนำเสนอรูปแบบพื้นที่เรียนรู้เพื่อพัฒนาความหมายเชิงสัญญะในผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม,"
Journal of Education Studies: Vol. 48:
Iss.
3, Article 10.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.48.3.10
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol48/iss3/10