Abstract
พลศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในการเจริญเติบโตของเด็กและนักกีฬาที่จะอยู่ร่วมในสังคมและการเป็นพลเมืองที่ดี ช่วยส่งเสริมความรับผิดชอบ หลักการประชาธิปไตย สามารถพัฒนาร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา นอกจากนี้ยังทำให้รู้จักผิดรู้จักถูก การปรับตัวเข้ากับผู้อื่นและการเผชิญกับความสำเร็จและความผิดหวัง รวมทั้งการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงต่าง ๆ ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน การสอนวิชาพลศึกษา การฝึกซ้อม และการแข่งขันกีฬาต่าง ๆจึงต้องดำเนินการตามสภาพอากาศดังกล่าว การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาในสภาวะอากาศร้อนนั้นร่างกายจะตอบสนองทางสรีรวิทยาโดยการระบายความร้อนด้วยการขับเหงื่อออกมาจนทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ปริมาณพลาสมาลดลง ระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลวและอุณหภูมิแกนกลางเพิ่มสูงขึ้น นำมาซึ่งโรคที่เกิดจากความร้อน เช่น การบวมน้ำจากแดด ผดผื่นแดด การขาดน้ำในร่างกาย มีไข้ เป็นลม เป็นตะคริวอ่อนเพลียเนื่องจากความร้อน และโรคลมแดด สถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา การฝึกซ้อมและ การแข่งขันกีฬา ควรให้ความสำคัญในการรับมือกับอันตรายและผลกระทบต่อสุขภาพข้างต้น ด้วยการกำหนดมาตรการและแผนรองรับในกรณีฉุกเฉินให้เหมาะสมเพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเช่น การจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ การปรับลดระยะเวลาของกิจกรรมกลางแจ้ง การเพิ่มความถี่ของการพัก การประเมินสภาพแวดล้อม การศึกษาข้อมูลสุขภาพของผู้เข้าร่วมและปัจจัยที่มีผลต่อความอดทนต่อสภาพอากาศร้อน การกำหนดมาตรการในการจัดการแข่งขัน เป็นต้น
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.48.2.3
First Page
34
Last Page
55
Recommended Citation
อินทรชัย, เกรียงไกร and เทียบทอง, บัณฑิต
(2020)
"คำแนะนำสำหรับการสอนพลศึกษา การฝึกซ้อม และแข่งขันกีฬาในสภาวะอากาศร้อน,"
Journal of Education Studies: Vol. 48:
Iss.
2, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.48.2.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol48/iss2/3