•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบทักษะการอ่านหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการอ่าน แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณภาพของสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมาก (M = 4.42, SD = 0.83) ด้านเทคนิคอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.61, SD = 0.50) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t-test = 14.61) 3) ทักษะการอ่านสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม อยู่ในระดับมาก (M = 4.17, SD = 0.39)

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.48.2.11

First Page

184

Last Page

202

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.