Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้การออกแบบการเรียนรู้จากการสร้างมโนภาพทางเคมี 2) เปรียบเทียบตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้การออกแบบการเรียนรู้จากการสร้างมโนภาพทางเคมีและการสอนแบบสืบสอบ 3) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนรู้เคมีของนักเรียนที่ได้รับการสอน โดยใช้การออกแบบการเรียนรู้จากการสร้างมโนภาพทางเคมี และ 4) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนรู้เคมีของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้การออกแบบการเรียนรู้จากการสร้างมโนภาพทางเคมีและการสอนแบบสืบสอบ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนโดยใช้การออกแบบการเรียนรู้จากการสร้างมโนภาพทางเคมี จํานวน 44 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบสืบสอบ จํานวน 43 คน เครื่องมือวิจัย คือ 1) แบบวัดตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.62 และ 2) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนรู้เคมี มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.67
ผลการวิจัยสรุปว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้ 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อการเรียนรู้อยู่ในระดับดีและ 4) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อการเรียนรู้เคมีสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.47.5.4
First Page
68
Last Page
87
Recommended Citation
รินลา, โชติกุล and ชาวสุภา, สายรุ้ง
(2019)
"ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การออกแบบการเรียนรู้จากการสร้างมโนภาพทางเคมีที่มีต่อตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนรู้เคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย,"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
5, Article 17.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.47.5.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss5/17