Abstract
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ และนําเสนอปรัชญา แนวคิดและหลักการของการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ดําเนินการวิจัยด้วยการวิเคราะห์เอกสารและการประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อประเมินผลข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ปรัชญาของการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้มี 4 ข้อ ประกอบด้วย 1. ความเชื่อว่าชุมชนและบุคคลมีศักยภาพ 2. หัวใจของการเปลี่ยนแปลงคือการเรียนรู้ 3. การเรียนรู้ที่มีคุณค่าคือ การเรียนรู้ตามความต้องการ 4. การเรียนรู้ของชุมชนเกิดขึ้นด้วยกลไกการขับเคลื่อนของชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชน แนวคิดของการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้มี 4 แนวคิดประกอบด้วย 1. บุคคลมีความเท่าเทียมในการเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน 2. บุคคลสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยใช้วิธีและรูปแบบการเรียนรู้ของตนเอง 3. การเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกพื้นที่ของชุมชน 4. การเรียนรู้ต้องสามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลโดยไม่ขัดแย้งกับวัฒนธรรมของชุมชนและสังคม หลักการของการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้มี 6 หลักการ ประกอบด้วย 1. หลักการเรียนรู้ ได้แก่ มีการศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ เรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม และเรียนรู้อย่างเรียบง่าย สอดคล้องกับธรรมชาติในชุมชน 2. หลักการด้านประโยชน์ตอบแทน ได้แก่ ชุมชนต้องได้รับประโยชน์จาก การแลกเปลี่ยนของบุคคลซึ่งเห็นประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก 3. หลักการคิดและลงมือทํา ได้แก่ ชุมชนเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยการมองเห็นภาพปัญหาควบคู่ไปกับการคิดอย่างเป็นองค์รวม มีการลงมือปฏิบัติจริงที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเป็นลําดับขั้นตอน 4. หลักการความเป็นผู้นํา ได้แก่ มีผู้ปฏิบัติที่เป็นต้นแบบของการเรียนรู้ 5. หลักการสื่อสารได้แก่ การทําความเข้าใจเพื่อนําไปสู่การเรียนรู้ร่วมกัน และ 6. หลักการระเบิดจากภายใน ได้แก่ การสร้างภูมิต้านทานที่เข้มแข็งภายในชุมชนก่อนที่จะนําความเจริญจากภายนอกเข้ามา
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.47.5.22
First Page
428
Last Page
444
Recommended Citation
รัตนอุบล, อาชัญญา
(2019)
"การวิเคราะห์และสังเคราะห์ปรัชญา แนวคิด และหลักการของการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้,"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
5, Article 15.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.47.5.22
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss5/15