Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้รูปแบบฟิตส์เพื่อลดอาการปวดคอ ไหล่ และหลังของบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรทางการศึกษา 50 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร ระยะเวลาในการดําเนินการวิจัย 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้รูปแบบฟิตส์ 2) แบบสอบถามการปฏิบัติเพื่อลดอาการปวดคอ ไหล่ และหลัง และ 3) แบบสอบถามอาการปวดคอ ไหล่ และหลัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติและอาการปวดคอ ไหล่ และหลัง โดยการทดสอบค่าที่
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติตนเพื่อลดอาการปวดคอ ไหล่ และหลังของกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการทดลอง และระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนอาการปวดคอ ไหล่ และหลังของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลอง และระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.47.5.20
First Page
385
Last Page
406
Recommended Citation
อาทิตย์ตั้ง, อภิรมย์ and สรายุทธพิทักษ์, จินตนา
(2019)
"ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้รูปแบบฟิตส์ที่มีต่ออาการปวดคอ ไหล่ และหลังของบุคลากรทางการศึกษา,"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
5, Article 13.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.47.5.20
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss5/13