Abstract
บทความนี้นําเสนอความสําคัญของความเข้มแข็งทางจิตใจที่มีต่อเด็กวัยอนุบาล ซึ่งความเข้มแข็งทางจิตใจนั้นเป็นศักยภาพที่สําคัญในการดําเนินชีวิตของมนุษย์ เป็นสิ่งสําคัญที่ช่วยให้เด็กปฐมวัยสามารถใช้ชีวิตประจําวันได้อย่างมีความสุข เด็กที่มีความเข้มแข็งทางจิตใจเป็นเกราะป้องกัน จะสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ โดยการใช้ทักษะทางอารมณ์และสังคม รวมถึงการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้เด็กผ่านพ้นอุปสรรคเหล่านั้นได้ ครูอนุบาลมีบทบาทสําคัญในการส่งเสริมให้เด็กเกิดความเข้มแข็งทางจิตใจ โดยปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่สําคัญในการส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจในห้องเรียนอนุบาล ได้แก่ (1) การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่สนับสนุนให้เด็กเกิดความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย มีความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตนเอง และไว้วางใจ เกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้คนรอบตัวและ (2) การจัดการเรียนรู้ เป็นการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่เสริมสร้างทักษะทางสังคมและการจัดการอารมณ์ของเด็กผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติที่หลากหลาย สร้างค่านิยมเชิงบวก ส่งเสริมให้เด็กมีประสบการณ์ใหม่ รับรู้ตนเองตามความเป็นจริง ตระหนักถึงการยอมรับผลการกระทําของตนเองทั้งทางบวกและทางลบ ร่วมกันสร้างข้อตกลงและมุ่งมั่นปฏิบัติตามข้อตกลงที่สร้างขึ้น มีทักษะในการรับมือกับปัญหาต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.47.5.19
First Page
369
Last Page
384
Recommended Citation
เป็งปิง, อภิพร
(2019)
"ความเข้มแข็งทางจิตใจของเด็กในห้องเรียนอนุบาล,"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
5, Article 11.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.47.5.19
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss5/11