Abstract
The purposes of this study were to analyze (1) the situation and (2) the equality of educational investment by local administrative organizations. The data werecollected by the Educational Budget Survey in 2019 with 128 samples from local administrative organizations. The results of the analysis of educational investment found tension in the allocation of educational budgets of small local administrative organizations, and local administrative organizations which are heavily dependent on government subsidies. The results of the educational investment inequality analysis were based on four inequality indices, namely Coefficient of variation, Gini coefficient, Theil coefficient, and terms of variance obtained from Hierarchical Linear Model (HLM) analysis. It was found that the overall educational investment of local administrative organizations remained stable, especially the budget allocation in general subsidies, but relatively high levels of inequality were found in budget allocation with respect to the income category, especially with the sub-district administrative organization. Suggested corrective actions developed from surveys and interviews with the experts are as follows: (1) encourage decentralization and move budget planning responsibility to the local administrative organization, (2) allocate a special subsidy budget to reduce inequalityby emphasizing the transfer of the budgeted funds based on outcomes, (3) createmeasures to support and motivate the local administrative organizations to mobilize resources from various sources, and (4) create systems and mechanisms for local mobilization of resources for education through implementation of a local tax for education.(การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพและความเสมอภาคในการลงทุนทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสํารวจงบประมาณด้านการศึกษาประจําปี 2562 จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลุ่มตัวอย่าง จํานวนทั้งสิ้น 128 แห่ง ผลการวิเคราะห์สภาพการลงทุนทางการศึกษาพบแรงตึงตัวด้านการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งพิงเงินอุดหนุนจากรัฐบาลในสัดส่วนที่สูง ผลการวิเคราะห์ความเสมอภาคในการลงทุนทางการศึกษาโดยใช้ดัชนีความไม่เสมอภาค 4 แบบ ได้แก่ สัมประสิทธิ์ความแปรผัน สัมประสิทธิ์จินี สัมประสิทธิ์ไทล์ และความความแปรปรวนที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยโมเดลเชิงเส้นตรงระดับลดหลั่น พบว่าการลงทุนทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาพรวมยังคงความเสมอภาคโดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนทั่วไปแต่การจัดสรรงบประมาณหมวดเงินรายได้กลับพบความไม่เสมอภาคค่อนข้างสูงโดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตําบล ข้อเสนอแนะที่ได้จากแบบสํารวจและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ (1) ผลักดันแผนการกระจายอํานาจและงบประมาณสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างจริงจัง (2) จัดสรรเงินอุดหนุนพิเศษเพื่อลดความไม่เสมอภาคโดยเน้นการให้เงินโอนตามผลผลิต (3) สร้างมาตรการเพื่อสนับสนุนและจูงใจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดมทรัพยากรจากแหล่งทุนต่าง ๆ และ (4) สร้างระบบและกลไกการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาผ่านภาษีท้องถิ่นเพื่อการศึกษา)
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
First Page
308
Last Page
330
Recommended Citation
Compan, Pongpan
(2019)
"Educational Investment Equality by Local Administrative Organizations(ความเสมอภาคในการลงทุนทางการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น),"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
4, Article 17.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss4/17