Abstract
ไดโนเสาร์และซากดึกดําบรรพ์อื่น ๆ มีอิทธิพลต่อมนุษย์ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ไปจนถึงด้านการศึกษามายาวนาน ผลจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ซากดึกดําบรรพ์ถูกนํามาใช้ด้านเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ใน 3 ลักษณะคือ 1) ทําหน้าที่เป็นเครื่องมือช่วยสร้างแรงจูงใจ และเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนสนใจกิจกรรมในชั้นเรียน 2) ทําหน้าที่เป็นเครื่องมือนําเข้าสู่บทเรียนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อน 3) นํามาใช้เพื่อเข้าใจอาชีพ และวิธีการทํางานของนักวิทยาศาสตร์ ผลการศึกษายังพบว่าซากดึกดําบรรพ์ถูกนํามาใช้กับในชั้นเรียนตั้งแต่ในระดับปฐมวัยไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ยิ่งไปกว่านั้นยังพบอีกว่า วิธีการวิจัยทางบรรพชีวินวิทยามีศักยภาพอย่างยิ่งในการนําไปใช้ส่งเสริมทักษะด้านการทําวิจัยของครู อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยบางชิ้นที่ระบุถึงข้อจํากัดในการนําซากดึกดําบรรพ์มาใช้ในด้านการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอายุของผู้เรียน
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.47.3.9
First Page
157
Last Page
174
Recommended Citation
จูงพันธ์, ชลิดา
(2019)
"ไดโนเสาร์ในห้องเรียน : การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางบรรพชีวินวิทยาในด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา,"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
3, Article 9.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.47.3.9
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss3/9