Abstract
บทอาขยานภาษาไทยเป็นบทประพันธ์ที่มีคุณค่า เพราะแสดงเนื้อหา ข้อคิดที่มีประโยชน์ และ/ หรือ แสดงกลวิธีการประพันธ์อันประณีต หลักสูตรแกนกลางกลางศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กำหนดให้นักเรียนท่องจำบทอาขยานทุกระดับขั้น เพื่อให้เข้าใจในคุณค่าของบทอาขยานและสามารถนำไป ใช้อ้างอิงได้จากการศึกษาสภาพปัจจุบัน พบว่า ครูผู้สอนโดยมากมอบหมายให้นักเรียนท่องจำบทอาขยาน แต่มิได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนท่องจำอย่างเพียงพอ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ นำเสนอกิจกรรมการท่องจำบทอาขยานภาษาไทย โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการสอนแบบเน้นความจำ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการท่องจำบทอาขยานและความตระหนักรู้ในคุณค่าของบทอาขยานที่ท่องจำ ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อท่องจำบทอาขยานเรื่อง “บทพากย์เอราวัณ” ระดับขั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้ทดลองใช้และพบว่านักเรียนสามารถท่องจำอาขยานได้ภายในเวลาที่กำหนด เพื่อเป็น ทางเลือกสำหรับครูให้นำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของนักเรียนแต่ละแห่งต่อไป การเรียนรู้กลวิธี การท่องจำของตนเองจะทำให้ผู้เรียนสามารถนำกลวิธีการท่องจำที่มีประสิทธิภาพไปใช้ให้เป็นประโยชน์ใน การศึกษาต่อไป นอกจากนี้ยังเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติไว้ให้คงอยู่สืบไป
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.47.3.28
First Page
514
Last Page
525
Recommended Citation
จันทร์ใด, สันติวัฒน์
(2019)
"ท่องจําอาขยานสืบสานภูมิปัญญา: การประยุกต์ใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นความจําในการท่องบทอาขยาน,"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
3, Article 28.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.47.3.28
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss3/28