Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ตามแนวคิดกระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด ทางประวัติศาสตร์และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดย เป็นการวิจัยและพัฒนา มีระยะเวลาในการทดลอง 15 สัปดาห์ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนประวิติศาสตร์ตามแนวคิดกระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้ เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If และระยะการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มเป้าหมายใน การวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบวัดทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์และแบบวัดการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดกระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้ เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If ประกอบด้วย หลักการของรูปแบบการเรียนการสอน แนวทางในการจัดการเรียนการสอน การเตรียมการสอน และขั้นตอนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “TIMER” ได้แก่ (1) ขั้นการสนทนาเกี่ยวกับประเด็นทางประวัติศาสตร์ (Talk about historical issue) (2) ขั้นการจินตนาการเกี่ยวกับอดีต (Imagine about the past) (3) ขั้นการจัดการกับหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ (Manage evidence) (4) ขั้นการสำรวจผ่านกาลเวลา (Exploration through time) และ (5) ขั้นการสะท้อนถึงอดีต (Refection to the past) ตลอดจนการวัดและประเมินผล 2. คุณภาพของรูป แบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดกระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If พบว่า นักเรียนมีทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์หลัง การทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีการเปลี่ยนแปลงของทักษะ การคิดทางประวัติศาสตร์และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ไปในทางที่ดีขึ้น
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.47.3.25
First Page
454
Last Page
474
Recommended Citation
พานา, ศุภณัฐ; สายฟ้า, ยศวีร์; and อิศรางกูร ณ อยุธยา, วลัย
(2019)
"การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดกระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย,"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
3, Article 25.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.47.3.25
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss3/25