Abstract
ปัจจุบันการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางเป็นที่นิยมยอมรับในวงกว้าง มีการวิจัยนําไปประยุกต์ใช้สอนตามศาสตร์ต่าง ๆ และในระดับชั้นที่หลากหลาย เนื่องจากการสอนแบบห้องเรียนกลับทางช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ช่วยให้มีอิสระในการสืบค้นและได้รับข้อมูลที่หลากหลายตามความสนใจนอกเหนือจากตําราในชั้นเรียน และสําหรับในส่วนของศาสตร์การสอน การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางมีความสําคัญมากกว่านั้น เนื่องจากในกระบวนการการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางช่วยให้นักศึกษาวิชาชีพครูได้ฝึกทักษะการสอนผ่านการถ่ายทอดความรู้ หรือข้อมูลต่าง ๆ ด้วยวิธีที่หลากหลาย สร้างความมั่นใจในการสอนเพื่อเตรียมพร้อมในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และการสอนในอนาคต บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอการประยุกต์ใช้การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางสําหรับนักศึกษา วิชาชีพครู โดยบูรณาการกับหลักการให้คําแนะนํา หลักการสอน และหลักการสะท้อนการเรียนรู้ ร่วมกับเนื้อหาของรายวิชา การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางในบทความนี้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นรับการแนะนํา 2) ขั้นเตรียมการ 3) ขั้นนําเสนอ ผ่านการถ่ายทอดความรู้ที่หลากหลาย ได้แก่ การบรรยาย การสาธิต และการแสดงบทบาทสมมติ และ 4) ขั้นอภิปรายการเรียนรู้ โดยภาพรวมผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้รูปแบบนี้แต่หากยังไม่คุ้นชินต่อการปรับเปลี่ยนวิธีเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนควรคอยให้คําแนะนําและคําปรึกษาแก่นักศึกษาอย่างเหมาะสม
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.47.3.22
First Page
404
Last Page
421
Recommended Citation
สถิรพันธุ์, วัลภา and ลออปักษา, พัชรัตน์
(2019)
"การประยุกต์ใช้การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางเพื่อพัฒนาความพร้อมในการสอนของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย,"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
3, Article 22.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.47.3.22
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss3/22