Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทยสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้ข้อความรู้จากการถอดบทเรียนจากศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) เป็นฐาน และ 2) ศึกษาผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ถอดบทเรียนเกี่ยวกับการส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทยจากศิลปินแห่งชาติ จำนวน5 ท่าน ระยะที่ 2 พัฒนากระบวนการเรียนการสอน ระยะที่ 3 ศึกษาผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พฒั นาขึน้ โดยกลมุ่ ตัวอยาางที่ใช้ในการวิจัยนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม จำนวน 35 คน และระยะที่ 4 ปรับปรุงแก้ไขและนำเสนอกระบวนการเรียนการสอนฉบับสมบูรณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ใช้สถิติค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างสรรค์ดนตรีไทย ได้แก่ ขั้นฝึกบรรเลงทำนองหลักของเพลงไทย และขั้นสร้างความรู้พื้นฐานสำหรับการสร้างสรรค์ดนตรีไทย ระยะที่ 2 การพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทย ได้แก่ ขั้นเรียนรู้การสร้างสรรค์ทำนองเพลงไทยจากต้นแบบ ขั้นฝึกสร้างสรรค์ทำนองเพลงไทยขั้นเพิ่มพูนประสบการณ์การฟังเพลงไทย และขั้นพัฒนาผลงานการสร้างสรรค์ทำนองเพลงไทย2) ผลการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า ความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และนักเรียนมีพัฒนาการในการสร้างสรรค์ดนตรีไทยดีขึ้น โดยเฉพาะด้านการแต่งทำนองเพลงไทยได้คล่องแคล่วและด้านการแต่งทำนองเพลงไทยให้สอดคล้องเหมาะสม
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.47.2.30
First Page
544
Last Page
568
Recommended Citation
ศาสตรา, อุทัย; ตรีวรัญญู, ชาริณี; and ฉัพพรรณรัตน์, ยุทธนา
(2019)
"กระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรีไทยสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: การถอดบทเรียนจากศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย),"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
2, Article 31.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.47.2.30
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss2/31