Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาพัฒนาการหลักสูตรการสอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษาและการนำหลักสูตรไปใช้ของโรงเรียนท้องถิ่นและโรงเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ภาคเหนือ ผลการวิจัยพบว่า สมัยพญามังรายมหาราช กษัตริย์พระองค์แรก ใช้วัดเป็นสถานที่อ่านเขียนตัวอักษรล้านนา ต่อมารัชกาลที่ 5 ได้ส่งเสริมให้คนล้านนาเรียนภาษาไทย หลักสูตรมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้ารับราชการมากขึ้นอันเป็นผลมาจากนโยบายชาตินิยม และหลักสูตรในยุคหลังสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช 2475 มีจุดเน้นที่ความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงมีนโยบายสร้างความเป็นชาติเพื่อความน้ำหนึ่งใจเดียวกัน กำหนดให้ นักเรียนทุกคนต้องเรียนภาษาไทยอย่างเดียว ทั้งมีพระราชบัญญัติประถมศึกษาเกิดขึ้น การศึกษาในล้านนาจึงเป็นระบบแบบเดียวกับส่วนกลางเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้คนไทยสามารถอ่านออกเขียนได้ มีความภาคภูมิใจ ในความเป็นไทย แต่การจัดการศึกษาไม่ได้คำนึงถึงบริบทที่เปลี่ยนแปลงของสังคมภาคเหนือที่มีแรงงานอพยพ แรงงานข้ามชาติ และกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายดังนั้นหลักสูตรจากนโยบายส่วนกลางจึงไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียนในภาคเหนือ
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.47.2.27
First Page
491
Last Page
506
Recommended Citation
ฤกษ์สมบูรณ์ดี, สุรางคนา
(2019)
"หลักสูตรและการสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษาของโรงเรียนท้องถิ่นในภาคเหนือ,"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
2, Article 28.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.47.2.27
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss2/28