Abstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาสำหรับเด็กกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง 2) เสนอรูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง วิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย (PNImodified) ค่าความต้องการจำเป็น (PNImodified) และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การจัดการศึกษามีค่าเฉลี่ยรวมของสภาพที่พึงประสงค์ (X bar = 4.12) สูงกว่าค่าเฉลี่ยรวมของสภาพปัจจุบันทั้งหมด ( = 3.72) สภาพที่พึงประสงค์ ได้แก่ จัดการศึกษาโดยเทียบโอน ประเมินผลมาตรฐาน หลักสูตรเน้นทักษะอาชีพควบคู่หลักสูตรแกนกลาง จัดการศึกษาและประเมินผลยืดหยุ่นจัดทำสื่อการสอน จัดการศึกษาแบบสำธิตทางเลือก สร้างนวัตกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และวิจัยการเรียนการสอน รูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมแก่เด็กกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง คือ รูปแบบโรงเรียนสำธิต?สัมมาชีพ? จัดการศึกษา 3 ระบบ ใช้วิถีชีวิตของผู้เรียนและชุมชนเป็นฐานเรียนรู้ ส่งเสริมนวัตกรรมจัดหลักสูตรสัมมาชีพที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นห้องปฏิบัติการฝึกอบรมครู ประเมินผลยืดหยุ่น เทียบโอนผลการเรียนรู้ พัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพครู ส่งเสริมความสำมัคคีในกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายจัดมาตรฐานการศึกษาแบบพิเศษ ใช้ภาษาชนเผ่า ใช้สื่อการสอนหลากหลาย ดึงศักยภาพของผู้เรียนกลุ่มชาติพันธุ์ให้พึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.47.2.1
First Page
1
Last Page
17
Recommended Citation
นาคสัมฤทธิ์, จรีพร
(2019)
"รูปแบบการจัดการศึกษา "โรงเรียนสัมมาชีพ" สำหรับเด็กกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง: กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม เชียงใหม่,"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
2, Article 2.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.47.2.1
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss2/2