Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการยอมรับการใช้อีเลิร์นนิง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้อีเลิร์นนิง 3) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานที่ทำให้อาจารย์ ยอมรับการใช้อีเลิร์นนิง ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและสัมภาษณ์กลุ่มที่ศึกษาคือ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 104 คนและผู้เชี่ยวชาญ5 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้อีเลิร์นนิงด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการยอมรับการใช้อีเลิร์นนิง ตามทฤษฎีการยอมรับนวัตกรรมของ Rogerอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง โดยขั้นรับรู้มีค่ามากที่สุด รองลงมาได้แก่ ขั้นยอมรับ ขั้นตัดสินใจ ขั้นสนใจและขั้นการนำไปใช้มีค่าน้อยที่สุด 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้อีเลิร์นนิง คือ แรงจูงใจในการใช้อีเลิร์นนิงรองลงมาได้แก่ คุณลักษณะของผู้สอน การรับรู้ลักษณะของนวัตกรรมอีเลิร์นนิง และสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการใช้อีเลิร์นนิง ตามลำดับ 3) แนวทางการดำเนินงานที่ทำให้อาจารย์ยอมรับการใช้อีเลิร์นนิงประกอบด้วยการสนับสนุนของคณะเภสัชศาสตร์ การพัฒนาความสามารถและทัศนคติของอาจารย์ และการพัฒนาและการบริหารจัดการเกี่ยวกับอีเลิร์นนิง
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.47.2.14
First Page
232
Last Page
251
Recommended Citation
ฮั่นพิพัฒน์, พัชรินทร์; ธีระเรืองไชยศรี, อนุชัย; and บุญเกต, นุชจรี
(2019)
"ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้อีเลิร์นนิงในการเรียนการสอนของอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
2, Article 15.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.47.2.14
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss2/15