Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ปัญหาปลายเปิด (2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ ระหว่างนักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาปลายเปิด และนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบทั่วไป (3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ ระหว่างกลุ่มที่มีระดับผลการเรียนสูง ปานกลาง และต่ำ หลังเรียนโดยใช้ปัญหาปลายเปิด กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ปีการศึกษา 2557 จำนวน 68 คนแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย สถิติทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาปลายเปิด ได้คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล หลังเรียนและก่อนเรียนไม่แตกต่างกัน (2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาปลายเปิดได้คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล หลังเรียนไม่แตกต่างกับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบทั่วไป (3) นักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาปลายเปิด ที่มีระดับความสามารถทางการเรียนสูง ปานกลาง ต่ำ ได้คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ หลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.47.2.12
First Page
192
Last Page
210
Recommended Citation
จันทราอุกฤษฎ์, พรเทพ
(2019)
"ผลของการใช้ปัญหาปลายเปิดในการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลและความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตในสังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ,"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
2, Article 13.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.47.2.12
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss2/13