Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสังเคราะห์ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบการสอนแบบเปิด ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิง สร้างสรรค์ (2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นจากประสบการณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิ เกี่ยวกับรูปแบบการออกแบบ การสอนแบบเปิด และ (3) เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบรูปแบบการสอนแบบเปิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีประสบการณ์สอนอย่างน้อย 15 ปี และมีตำแหน่งทางวิชาการ เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้โปรแกรม ATLAS.ti ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบการสอนแบบเปิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา เชิงสร้างสรรค์โดยใช้วิดีโอเป็นฐาน เกิดจากองค์ประกอบ (1) การออกแบบการสอน (2) การเรียนแบบเปิด (3) การทำงานเป็นกลุ่ม (4) การเรียนโดยใช้วิดีโอเป็นฐาน โดยแต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียด เชื่อมโยง มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน และเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน นำเสนอแนวทางในการออแบบตามด้านต่าง ๆ คือ (1) การเรียนแบบเปิด (2) การสอนแบบเปิด (3) การประเมิน และ (4) สื่อการสอน
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
First Page
123
Last Page
143
Recommended Citation
Nonthamand, Narin and Na-Songkhla, Jaitip
(2019)
"แนวทางการออกแบบการสอนแบบเปิด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้วิดีโอเป็นฐาน: การวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา,"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
1, Article 7.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss1/7