•  
  •  
 

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบองค์ประกอบของความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิคเดลฟาย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ 17 คน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหลักภาษา 9 คน และการสอนภาษาไทย 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เกี่ยวกับองค์ประกอบของความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย ชุดที่ 1 แบบสอบถามปลายเปิด ชุดที่ 2 และ 3 แบบสอบถามปลายปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่ามัธยฐาน ผลต่างของมัธยฐานกับฐานนิยม และพิสัยระหว่าง ควอไทล์เพื่อหาฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่า ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยมี 7 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) บอกความหมายของ คำศัพท์ที่มีความหมายตามอรรถ 2) บอกความหมายของคำศัพท์ที่มีความหมายโดยนัย 3) ระบุความหมาย ของพลความของข้อมูลที่ปรากฏ 4) ระบุความหมายของพลความของข้อมูลที่แฝงเร้น 5) ระบุใจความสำคัญ ของข้อมูลที่ปรากฏ 6) ระบุใจความสำคัญของข้อมูลที่แฝงเร้น และ 7) การตีความด้านองค์ประกอบของ ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย 7 องค์ประกอบ ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันในระดับมากที่สุด (Mdn = 5.00, |Mdn-Mode| = 0, IR = 0)

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.47.1.6

First Page

103

Last Page

122

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.