Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทฤษฎีที่ใช้อธิบายหลักสูตรการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุ และเด็ก ด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากการคัดเลือกเอกสารวิชาการ ระหว่าง พ.ศ. 2550?2559 ใช้วิธีวิเคราะห์ เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ทฤษฎีที่ถูกนำมาใช้เป็นแนวคิดหลักในการอธิบายหลักสูตรการเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างผู้สูงอายุและเด็ก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ทฤษฎีในบริบทการมีปฏิสัมพันธ์ระดับบุคคลและกลุ่ม (ทฤษฎีทุนทางสังคม ทฤษฎีการสัมผัส ทฤษฎีการสื่อสารระหว่างวัย การสร้างพลังอำนาจ ทฤษฎีนิเวศวิทยา) และ 2) ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาระดับบุคคล (ทฤษฎีพัฒนาการทางจิตสังคม ทฤษฎีเกี่ยวกับความเป็น บุคคล การศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ตลอดชีวิต) ส่วนใหญ่ใช้อธิบายวัตถุประสงค์ เป้าหมาย แนวทางการจัดกระบวนการ การออกแบบกิจกรรม และประโยชน์ของหลักสูตร ความท้าทายของการพัฒนา องค์ความรู้นี้ คือ การสร้างทฤษฎีจากการปฏิบัติงานในพื้นที่จริงด้วยประสบการณ์ของนักปฏิบัติ เช่น ผู้จัด กิจกรรม ผู้ดำเนินหลักสูตร ซึ่งจะทำให้ทฤษฎีสามารถอธิบายหลักสูตรได้เจาะจงมากขึ้น
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.47.1.4
First Page
63
Last Page
83
Recommended Citation
อัศตรกุล, ฐิติกาญจน์
(2019)
"หนึ่งทศวรรษทฤษฎีที่ใช้ในหลักสูตรการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุและเด็ก,"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
1, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.47.1.4
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss1/4