Abstract
ระบบห้องเรียนเสมือนจริงสำหรับการเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้าน (Multicultural virtual world: MVW) เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยเรื่องระบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เสมือน จริงเพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกันสำหรับผู้เรียนระดับ อุดมศึกษาของชุมชนวัฒนธรรมอาเซียน ผลการวิเคราะห์หาองค์ประกอบหลักด้วยวิธี EFA พบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) เทคนิคการสอนและสื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกัน (2) เครื่องมือติดต่อสื่อสาร (3) การเรียนรู้ ร่วมกันเป็นทีม และ (4) บทบาทหน้าที่ จากนั้นนำผลที่ได้ไปออกแบบพัฒนาและทดลองใช้ตามกระบวน การวิจัยและพัฒนา (R&D) สรุปขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ในระบบห้องเรียนเสมือนจริงมี 7 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การเตรียมความพรอ้ ม (2) การกำหนดประเดน็ ปญั หาหรือหัวขอ้ ที่จะศึกษา (3) การตั้งกฎกตกิ า มารยาท การทำงานร่วมกัน (4) การศึกษาข้อมูลร่วมกันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (5) การสร้างชิ้นงานร่วมกัน (6) การประเมินผล และ (7) การนำเสนอผลงาน โดยในบทความนี้ขอนำเสนอระบบ MVW เน้นจุดเด่นเรื่อง ของระบบและแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการนำไปใช้จริงได้อย่างเป็นรูปธรรม โดย ความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้เสมือนนั้นมีฐานแนวคิดจากเรื่องการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ และแหล่งทรัพยากรเสมือนที่ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่านำสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืนต่อไป
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.47.1.3
First Page
42
Last Page
62
Recommended Citation
คล้ายสังข์, จินตวีร์ and มิ่งศิริธรรม, เขมณัฏฐ์
(2019)
"รู้รอบวัฒนธรรมจากห้องเรียนเสมือนจริง: การออกแบบระบบจากงานวิจัยสู่แนวปฏิบัติ,"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
1, Article 3.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.47.1.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss1/3