Abstract
งานวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการบริการของข้าราชการ ตำรวจไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการบริการของข้าราชการ ตำรวจไทย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการตำรวจไทยที่ปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ (1.1) ขั้นผ่านประสบการณ์ (1.2) ขั้นผ่านการสะท้อนความคิด (1.3) ขั้นผ่านการตัดสินใจ และ (1.4) ขั้นผ่าน การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 2) หลักยึดถือปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการบริการมี 8 ข้อ ได้แก่ (2.1) การเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ (2.2) การดำรงตนเหมาะสม (2.3) การช่วยเหลือประชาชน (2.4) การรู้จักควบคุมอารมณ์ (2.5) การมีความซื่อสัตย์สุจริต (2.6) การมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ (2.7) การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และ (2.8) การเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ 3) ปัจจัยของ การใช้รูปแบบมี 2 ปัจจัย ได้แก่ (3.1) ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน และบุคคลภายนอก (3.2) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่ทำงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ และ 4) เงื่อนไข ของการใช้รูปแบบ ประกอบด้วย 2 เงื่อนไข ได้แก่ (4.1) เงื่อนไขจากบุคคล ประกอบด้วย ความพร้อมของ ผู้เรียน ประสบการณ์ พื้นฐานการศึกษา และวิธีการสะท้อนความคิด (4.2) เงือ่ นไขจากหนว่ ยงาน ประกอบดว้ ย รางวัลและแรงจูงใจ บทลงโทษทางวินัย และความต่อเนื่องของการดำเนินการในการสร้างจิตสำนึกการบริการ
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.47.1.24
First Page
458
Last Page
473
Recommended Citation
ชาติทอง, สรช; โกวิทยา, มนัสวาสน์; and คงเจริญ, มิ่งขวัญ
(2019)
"การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกการบริการของข้าราชการตำรวจไทย,"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
1, Article 24.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.47.1.24
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss1/24