Abstract
สุนทรียะ คือ ความรู้สึกซาบซึ้งในคุณค่าของสิ่งที่งดงามหรือรื่นรมย์ ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติหรือ งานศิลปะ ที่พัฒนาได้ด้วยการศึกษาและฝึกฝนจนเป็นนิสัย เกิดรสนิยม ซึ่งเป็นพื้นฐานที่มีคุณค่าต่อคุณภาพ ของชีวิตมนุษย์ การจัดการศึกษาทางด้านสุนทรียะมีความสำคัญต่อนักเรียนในวัยประถมศึกษาที่ควรได้รับ การวางรากฐานของพัฒนาการที่ดีอันจะทำให้เติบโตขึ้นเป็นผู้ที่มีสุนทรียภาพ พหุศิลปศึกษาเชิงแบบแผน เป็นทฤษฎีการจัดการเรียนการสอนศิลปศึกษาที่เน้นการบูรณาการความรู้ 4 แกน คือ ประวัติศาสตร์ศิลป์ ศิลปปฏิบัติ ศิลปวิจารณ์และสุนทรียภาพ ซึ่งเป็นแกนที่สำคัญต่อการพัฒนานักเรียนและจัดการเรียนรู้ให้ นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงด้านสุนทรียะด้วยการจัดการศึกษานอกสถานที่ เพื่อให้นักเรียนได้สังเกต สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย มี ความละเอียดอ่อนลึกซึ้งในการคิดพิจารณาและส่งเสริมสุนทรียะของนักเรียน ซึ่งรูปแบบการจัดการศึกษา นอกสถานที่ร่วมกับพหุศิลปศึกษาเชิงแบบแผนเพื่อส่งเสริมสุนทรียะของนักเรียนประถมศึกษามี 7 ขั้นตอน คือ (1) กำหนดกิจกรรมการไปทัศนศึกษา (2) สำรวจสถานที่จริง (3) วางแผนจัดกิจกรรมการศึกษา นอกสถานที่ (4) จัดเตรียมเอกสารและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรม (5) จัดการเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลและ สถานที่ก่อนการไปทัศนศึกษา (6) จัดกิจกรรมตามแผนและกำหนดการที่วางไว้ และ (7) สรุป ประเมินผล และรายงานผล เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมต่อไป
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.47.1.22
First Page
415
Last Page
433
Recommended Citation
จงรักวิทย์, สมใจ
(2019)
"รูปแบบการจัดการศึกษานอกสถานที่ร่วมกับพหุศิลปศึกษาเชิงแบบแผน เพื่อส่งเสริมสุนทรียะของนักเรียนประถมศึกษา,"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
1, Article 22.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.47.1.22
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss1/22