Abstract
การมีสติเผชิญกับสถานการณ์อย่างสร้างสรรค์และเป็นแบบแผนตามหลักพระพุทธศาสนาให้ เข้ากับการจัดการห้องเรียน ทำให้ผู้เขียนมั่นใจว่าการสังเกตความรู้สึกของตนเองเมื่อก้าวเข้าไปในห้องเรียน คือ จุดเริ่มต้นของห้องเรียนแห่งการตื่นรู้ ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ รวมทั้งผลที่เกิดจากการจัดห้องเรียนนั้น ไม่อาจสรุปตายตัวได้ เพราะความเปลี่ยนแปลงและแปลกใหม่มีอยู่เสมอซึ่งท้าทายให้เรียนรู้และพัฒนาต่อไป บทความนี้ถ่ายทอดประสบการณ์ในการพัฒนาห้องเรียนแห่งการตื่นรู้ประกอบด้วย 3 ระยะซึ่งพัฒนามา จากการประยุกต์การฝึกสติอย่างเป็นแบบแผนกับการจัดการห้องเรียน ระยะที่หนึ่ง คือ นวัตกรรม การเช็คชื่อ ระยะที่สอง คือ การจัดการเรียนการสอนประยุกต์: สติปัฏฐานกับการเรียนการสอน และระยะ ที่สาม คือ ห้องเรียนแห่งการตื่นรู้ ซึ่งสะท้อนความรู้สึก ความคิด และการจัดการของผู้เรียน
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.47.1.19
First Page
358
Last Page
376
Recommended Citation
วิวาห์สุข, มนตรี
(2019)
"การพัฒนาห้องเรียนแห่งการตื่นรู้,"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
1, Article 19.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.47.1.19
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss1/19