•  
  •  
 

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนโดยใช้การพัฒนาบทเรียน ร่วมกัน และการเป็นพี่เลี้ยงที่มีต่อความสามารถในการประยุกต์ทฤษฎีสู่การปฏิบัติการสอนคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยของนิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย กลุ่มเป้าหมาย คือ นิสิตชั้นปีที่ 3 สาขา วิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา การพัฒนา การเรียนรู้คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสำหรับเด็กปฐมวัย ภาคปลาย ปีการศึกษา 2559 จำนวน 17 คน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยในชั้นเรียน ผู้วิจัยดำเนินการทดลองเป็นเวลา 16 สัปดาห์ โดยแบ่ง การดำเนินการทดลองเป็น 2 ระยะ และเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 4 ครั้ง โดยใช้แบบวัดความรู้ทางการสอน คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และแบบประเมินความสามารถในการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับ เด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำมาวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบวัดซํ้าที่มีปฏิสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนรวมความรู้ทางการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ของนิสิตสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการปฏิบัติการสอนคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยของนิสิตหลังการจัดการเรียนการสอนแบบที่ 1 และแบบที่ 2 ในแต่ละระยะการทดลอง พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนรวมจากการวัดครั้งที่ 1-4 เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.47.1.10

First Page

181

Last Page

200

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.