•  
  •  
 

Article Title

The Effects of STAD-based Constructivist Learning Approach on Mathematics Learning Achievement(ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์)

Abstract

The purposes of this study were: (1) to show the efficiency of mathematics learningactivities based on the constructivist learning theory and in the STAD cooperative learning technique for Sets instruction with the efficiency criterion 75/75; (2) to investigate MathayomSuksa 4 students? mathematics learning achievement based on the constructivist learning theory in and the STAD cooperative learning model; and (3) to Indicate students? satisfactionof the learning activities. The sample was comprised of 31 students of the Demonstration School of Ramkhamhaeng University selected by simple random sampling. The research instruments included (1) mathematics learning achievement tests and (2) a satisfaction questionnaire. The findings revealed that (1) mathematics learning activities based on the constructivist learning theory and the STAD cooperative learning technique were efficient at a value of 80.84/75.48; (2) students? learning achievement were increased at the statisticallysignificant level of .01; and (3) students? satisfaction on mathematics learning activities was at the highest level.(งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องเซตตามเกณฑ์ 75/75 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามแนวคิดทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 31 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องเซต มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.84/75.48 2) นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มีคะแนนรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก)