•  
  •  
 

Article Title

Development of a Conceptual Framework for an Instructional Model Integrating the Code-switching and Total Physical Response Method to Enhance the English Ability of Kindergarteners(การพัฒนากรอบแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์ โดยบูรณาการการสลับภาษาและวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง เพื่อส่งเสริมความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาล)

Authors

Author #1

Abstract

The purpose of this research was to develop a conceptual framework of an instructional model integrating the code-switching and TPR method to enhance the English ability of kindergarteners. The framework was developed by reviewing relevant approaches, theories and empirical studies that include principles of teaching English for young learners, The Code-Switching, Total Physical Response Method (TPR), English ability of kindergarteners and empirical studies. The conceptual framework includes 4 principles: 1) developing listening comprehension skills, 2) using command and physical response, 3) using code switching naturally, and 4) always observing children?s understanding; The research includes; 4 steps of instruction: 1) recalling previous knowledge, 2) teacherdemonstration, 3) practicing, and 4) wrapping up, and evaluating the English ability of kindergarteners for listening comprehension in words or sentences and transferringheard information. The developed conceptual framework will be used for developing an instructional model integrating the code-switching and total physical response method to enhance the English ability of kindergarteners.(งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการการสลับภาษาและวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางเพื่อส่งเสริมความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาล โดยการทบทวนแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอนุบาล การสลับภาษา วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง ความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาล ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ กรอบแนวคิดของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย หลักการของรูปแบบ 4 ประการ คือ (1) การพัฒนาทักษะการฟังอย่างเข้าใจ (2) การออกคำสั่งและทำท่าทางประกอบ (3) การใช้ภาษาแม่สลับกับภาษาอังกฤษอย่างเป็นธรรมชาติ และ (4) ตรวจสอบความเข้าใจของเด็กอย่างสม่ำเสมอ ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน 4 ขั้น คือ (1) ขั้นทบทวนความรู้ (2) ขั้นสาธิตให้ดู (3) ขั้นฝึกปฏิบัติ และ(4) ขั้นสรุปความเข้าใจ การประเมินผลความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาลใน 2 ด้าน คือ ด้านการเข้าใจความหมายของคำศัพท์/ประโยคที่ฟัง และด้านการถ่ายโอนข้อมูลจากสิ่งที่ฟัง ซึ่งกรอบแนวคิดที่ได้จะนำไปพัฒนาเป็นรูปแบบการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการการสลับภาษาและวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางเพื่อส่งเสริมความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาลต่อไป)