Article Title
A Handbook Development of Transformational Leadership for Master Teachers into a Professional Learning Community(การพัฒนาคู่มือฝึกอบรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของครูแกนนำสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ)
Abstract
The purpose of this research was to develop and implement the handbook for transformational leadership development of master teachers for professional learningcommunity (PLC). Data were collected from survey questionnaires of 19 master teachers. A handbook for transformational leadership development was designed to use in training teachers on leadership skills for a professional learning community. The results of handbook evaluation revealed appropriate contents with 4 main components, including 1) implementation of guidelines, 2) leadership development, 3) development of master teachers for professional learning community, and 4) training evaluation and follow-up. KIRKPATRICK?S model of training evaluation was applied to measure how participants reactedto the training. It was found that teachers were satisfied with the training. They gained knowledge and skills, and exhibited higher enthusiasm behavior. Additionally, teachers achieved the improvement of teaching productivity and learning efficiency in classroom. They also obtained the ability to develop professional networks of teacher learning and academic cooperation. In conclusion, this research has shown that leadership developmentthrough the training of teachers has the potential to maximize learning and behavioral change of teachers. Transformational leadership development is an important tool to drive the school into professional learning community, and improve the quality of teaching and learning to emphasize the effectiveness for learners.(การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินคู่มือฝึกอบรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของครูแกนนำสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสอบถามครูแกนนำที่คัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ 19 คน โดยผู้วิจัยได้พัฒนาคู่มือฝึกอบรมจากนั้นทำการอบรมครูแกนนำและประเมินผลการพัฒนาภาวะผู้นำของครูแกนนำ ผลการวิจัย พบว่า คู่มือมีความเหมาะสมและมีส่วนประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ 1) แนวทางการดำเนินการ 2) การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 3) การพัฒนาครูแกนนำ สู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ 4) การติดตามประเมินผลภายหลังการฝึกอบรม ผู้วิจัยทำการประเมินผลการอบรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยใช้แนวคิดของ KIRKPATRICK?S พบว่า ครูมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจและแสดงพฤติกรรมกระตือรือร้นในการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น และมีความสามารถในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและความร่วมมือทางวิชาการ โดยการฝึกอบรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีองค์ประกอบของเนื้อหาใน 5 มิติ ได้แก่ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นทางปัญญา การบ่งชี้และให้ความชัดเจนทางวิสัยทัศน์ และการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพจากการอบรมส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ)