•  
  •  
 

Article Title

Effects of Organization Mathematics Learning Activities Emphasizing on Modeling and Strategy based on Approach of Maynes and Julien-Schultz on Mathematical Knowledge and Problem Solving Ability of Eleventh Grade Students(ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นแบบอย่างและกลวิธีตามแนวคิดของเมย์เนสและจูเลียน-ชูลต์ซ ที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5)

Abstract

The purposes of this research were 1) to compare the mathematical knowledge and mathematical problem solving abilities of students between an experimental group and a control group, 2) to compare the mathematical problem solving abilities of the students in the experimental group between, before and after learning, and 3) to study the developmentof mathematical knowledge and mathematical problem solving abilities of the students in the experimental group. The subjects consisted of 90 eleventh grade students of Sri AyudhyaSchool in the first semester of academic year 2017. These students were divided into two groups consisting of an experimental group of 44 students and a control group of 46 students.The instruments used for data collection were mathematical knowledge tests, mathematicalproblem solving abilities tests and worksheets. The data were analyzed by arithmetic mean,standard deviation, t-test and content analysis.The results of the study revealed that 1) the mathematical knowledge and problemsolving abilities of students in the experimental group were higher than those of the students in the control group at a .05 level of significance, 2) the mathematical problem solving abilities of students in the experimental group after learning, were statistically higherthan those before at a .05 level of significance, and 3) students in the experimental group gradually improved their mathematical knowledge and mathematical problem solving abilities in all three aspects when comparing before, during, and after being taught.(การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มปกติ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาพัฒนาการของความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 90 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 44 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความรู้ทางคณิตศาสตร์และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และใบงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีพัฒนาการของความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบเป็นระยะจากก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน)