•  
  •  
 

Article Title

Effects of Instruction Using Visualization of Chemistry Learning Design on Scientific Representations and Attitude towards Learning Chemistry of Upper Secondary School Students(ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การออกแบบการเรียนรู้จากการสร้างมโนภาพทางเคมีที่มีต่อตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนรู้เคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย)

Abstract

This research aimed to 1) study the scientific representations of students by using the visualization of Chemistry learning design, 2) compare students? scientific representationsbetween a group of students using the visualization of Chemistry learning design and ones using inquiry instruction. 3) study students? attitude towards learning chemistry by using the visualization of Chemistry learning design. 4) compare students? attitude towards learning chemistry between two groups, with one using the visualization of Chemistry learning designand the other using inquiry instruction. The samples were tenth grade students. One class of 44 students was used as the experimental group, using the visualization of Chemistry learning design, while another class of 43 students was used as the control group, using inquiry instruction. The research instruments were 1) the scientific representations test with reliability at 0.62, 2) the attitude toward learning chemistry test with reliability of 0.67. The research findings were summarized as follows: 1) The experimental group?s mean score of their scientific representations was rated at a moderate level; 2) The experimental group?s mean score of their scientific representations was higher than control group by a level of .05 significance; 3)The experimental group?s mean score of attitude towards learning chemistrywas rated at a good level; 4) The experimental group?s mean score of the attitude toward learning chemistry was higher than control group by a level of .05 significance.(การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้การออกแบบการเรียนรู้จากการสร้างมโนภาพทางเคมี 2) เปรียบเทียบตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้การออกแบบการเรียนรู้จากการสร้างมโนภาพทางเคมีและการสอนแบบสืบสอบ 3) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนรู้เคมีของนักเรียนที่ได้รับการสอน โดยใช้การออกแบบการเรียนรู้จากการสร้างมโนภาพทางเคมี และ 4) เปรียบเทียบเจตคติต่อการเรียนรู้เคมีของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้การออกแบบการเรียนรู้จากการสร้างมโนภาพทางเคมีและการสอนแบบสืบสอบ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนโดยใช้การออกแบบการเรียนรู้จากการสร้างมโนภาพทางเคมี จำนวน 44 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนแบบสืบสอบ จำนวน 43 คน เครื่องมือวิจัย คือ 1) แบบวัดตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.62 และ 2) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนรู้เคมี มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.67 ผลการวิจัยสรุปว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อการเรียนรู้อยู่ในระดับดีและ 4) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อการเรียนรู้เคมีสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05)