Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของความต้องการในการพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ (2) สภาพพึงประสงค์และสภาพแวดล้อมของ (3) ศึกษาสภาพแวดล้อมของการพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ (4) นําเสนอกลยุทธ์การพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ ประชากร คือ ครูโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 จํานวน 2,683 คน กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 335 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ แล้วเลือกการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสํารวจฉบับร่างและแบบประเมินกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNIModified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (X = 3.88) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การสอนคิดวิเคราะห์เนื้อหา มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (X = 3.93) สภาพพึงประสงค์ของการพัฒนาครูในภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (X = 4.32) พิจารณา รายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การสอนคิดวิเคราะห์เนื้อหา มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (X= 4.35) ผลการทดสอบค่าดัชนีจัดเรียงลําดับความสําคัญความต้องการจําเป็น ในภาพรวมมีค่า PNImodified เท่ากับ 0.116เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การสอนคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์ มีค่า PNImodified เท่ากับ 0.120 เป็นลําดับที่หนึ่ง ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม พบว่า 1) จุดแข็ง (S) มีทั้งหมด 3 ประเด็น 2) จุดอ่อน (W)มีทั้งหมด 5 ประเด็น 3) โอกาส (O) มีทั้งหมด 9 ประเด็น 4) ภาวะคุกคาม (T) มีทั้งหมด 3 ประเด็น กลยุทธ์การพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ โรงเรียนมัธยมศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก 16 วิธีการ ดังนี้ 1) การพัฒนาศักยภาพครูด้านการได้รับความรู้ในการคิดวิเคราะห์ มี 5 วิธีการ 2) กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบคิดวิเคราะห์ มี 4 วิธีการ3) การพัฒนาครูด้านการใช้สื่อ นวัตกรรมละเทคโนโลยีในการคิดวิเคราะห์ มี 4 วิธีการ 4) การพัฒนาศักยภาพครูด้านการวัดและประเมินผลการคิดวิเคราะห์ มี 3 วิธีการ
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.47.0.18
First Page
337
Last Page
356
Recommended Citation
ใจฉกาจ, วิศนี and สุดรุ่ง, จุไรรัตน์
(2019)
"กลยุทธ์การพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ โรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8,"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
0, Article 19.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.47.0.18
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss0/19