Abstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง 2) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามของการบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง วิธีดําเนินการมี 3 ขั้นตอน คือ 1) กําหนดกรอบแนวคิด 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคาม โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนมัธยมขนาดกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสังกัด สพฐ. จํานวน 230 โรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิด ประกอบด้วย กรอบกระบวนการบริหาร ได้แก่ การวางแผน การนําแผนไปปฏิบัติและการประเมินผล กรอบห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ การสนับสนุนผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยครูเป็นผู้อํานวยความสะดวกให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมการเรียนรู้ กรอบความเป็นพลเมือง ได้แก่ ใจกว้าง รับฟัง มีเมตตา เข้าใจวัฒนธรรมและความคาดหวังของผู้อื่น และกรอบการเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง ได้แก่ การสอนความเป็นพลเมืองและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมืองในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและมาก 3) จุดแข็ง คือ บรรยากาศในการเรียนที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม จุดอ่อน คือ การวัดและประเมินผล โอกาส คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ภาวะคุกคาม คือ นโยบายของรัฐบาล สภาพเศรษฐกิจและสังคม
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
First Page
236
Last Page
250
Recommended Citation
เพชรผล, พงษ์ลิขิต
(2019)
"การบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง,"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
0, Article 14.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss0/14