Abstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง 2) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามของการบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง วิธีดําเนินการมี 3 ขั้นตอน คือ 1) กําหนดกรอบแนวคิด 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคาม โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนมัธยมขนาดกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสังกัด สพฐ. จํานวน 230 โรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิด ประกอบด้วย กรอบกระบวนการบริหาร ได้แก่ การวางแผน การนําแผนไปปฏิบัติและการประเมินผล กรอบห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ การสนับสนุนผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยครูเป็นผู้อํานวยความสะดวกให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมการเรียนรู้ กรอบความเป็นพลเมือง ได้แก่ ใจกว้าง รับฟัง มีเมตตา เข้าใจวัฒนธรรมและความคาดหวังของผู้อื่น และกรอบการเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง ได้แก่ การสอนความเป็นพลเมืองและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมืองในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางและมาก 3) จุดแข็ง คือ บรรยากาศในการเรียนที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม จุดอ่อน คือ การวัดและประเมินผล โอกาส คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ภาวะคุกคาม คือ นโยบายของรัฐบาล สภาพเศรษฐกิจและสังคม
Publisher
Faculty of Education, Chulalongkorn University
DOI
10.58837/CHULA.EDUCU.47.0.13
First Page
236
Last Page
250
Recommended Citation
เพชรผล, พงษ์ลิขิต; วิเศษศิริ, ปองสิน; and ศิริบรรณพิทักษ์, พฤทธิ์
(2019)
"การบริหารห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของความเป็นพลเมือง,"
Journal of Education Studies: Vol. 47:
Iss.
0, Article 14.
DOI: 10.58837/CHULA.EDUCU.47.0.13
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/educujournal/vol47/iss0/14