•  
  •  
 

Abstract

การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วน จังหวัดนนทบุรี: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดเสาธงหิน เป็นโครงการวิจัยย่อยในชุดโครงการพัฒนา คุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี โดยมี วัตถุประสงค์ 4 ข้อ คือ เพื่อศึกษา 1) บริบทของโรงเรียน 2) ลักษณะของกิจกรรม สื่อ และ โปรแกรมการพัฒนาโรงเรียน 3) ผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาที่มี ต่อการพัฒนาโรงเรียนในด้านผู้บริหารและระบบการบริหาร ครูและระบบการจัดการเรียน การสอน ระบบสภาพแวดล้อมของโรงเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สมรรถนะและ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน 4) ผลกระทบของการพัฒนาโรงเรียนตามโครงการพัฒนา คุณภาพมาตรฐานการศึกษา ที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้และวิถีชีวิตของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทาง การศึกษาในโรงเรียน และผลกระทบที่มีต่อชุมชน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารจำนวน 1 คน ครูจำนวน 10 คน ผู้ดูแลเด็กจำนวน 2 คน นักการภารโรงจำนวน 2 คน นักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัย จำนวน 69 คน และ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 129 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 2) แบบบันทึก คะแนน NT และ O-NET 3) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน 4) แบบประเมินร่วมกันสะท้อนและเสริมสร้างความคิดต่อกิจกรรมการฝึกอบรม 5) แบบสอบถามร่วมสะท้อนคิดวันดอกนนทรีบาน 6) แบบสัมภาษณ์วันดอกนนทรีบาน 7) แบบติดตามผลการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน 8) แบบติดตามผลการพัฒนาการ บริหารโรงเรียน 9) แบบสังเกตและแบบบันทึกการลงภาคสนาม ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงบรรยายได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) โรงเรียน วัดเสาธงหินเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก สัดส่วนครู : นักเรียน คือ 1 : 8 โดยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักเรียนอยู่ในระดับดี 2) กิจกรรมการพัฒนาครูประกอบด้วย จำนวน 4 แผนงาน 7 โครงการ ที่มีระยะเวลาในการฝึกอบรมทั้งหมด 10 วัน ผลการประเมินจำแนกรายด้านพบว่า ด้านความรู้ที่ได้รับจากการอบรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X=3.80, SD=0.440) ด้าน ความพึงพอใจต่อสื่อ/กิจกรรมโดยภาพรวมในระดับมาก (X=3.67, SD=0.726) และด้านความ เป็นประโยชน์ในการนำความรู้ไปใช้โดยภาพรวมในระดับมาก (X=3.83, SD=0.707) 3) ผลการพัฒนาโรงเรียนมีดังนี้ 3.1) มีการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารและระบบการบริหาร ซึ่งมีการดำเนินการเสร็จแล้วทั้ง 10 ด้าน โดยพบว่า ผู้บริหารคอยให้ขวัญและกำลังใจแก่ครู ในการทำงานและการบริหารงานของผู้บริหารมีความเป็นระบบขึ้น 3.2) การเปลี่ยนแปลง ของครูและระบบการจัดการเรียนการสอน โดยภาพรวมพบว่ามีการดำเนินการเสร็จแล้วทั้ง 11 ด้าน 3.3) การเปลี่ยนแปลงระบบสภาพแวดล้อมของโรงเรียนพบว่า ศูนย์การเรียนรู้ ของชุมชนมีการดำเนินการเสร็จแล้ว ส่วนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ตามอัธยาศัยและอาศรมครูอยู่ระหว่างดำเนินการ 3.4) การเปลี่ยนแปลงของผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น 4) ผลกระทบของการพัฒนาที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้และวิถีชีวิตในโรงเรียนและผลกระทบต่อ ชุมชนพบว่ามีการออกเสียงตามสายเพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนและครูจัดการเรียนการสอนแก่ ชุมชนเพื่อให้มีความรู้ในการประกอบอาชีพ ชุมชนให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น

Publisher

Faculty of Education, Chulalongkorn University

DOI

10.58837/CHULA.EDUCU.46.3.9

First Page

154

Last Page

173

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.